วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำนาม(Kata Nama)

คำนาม (Kata Nama) หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือนามธรรม
เราสามารถจำแนกประเภทของคำนามออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.คำนามทั่วไป (Kata Nama Am) หมายถึง นามที่ใช้เรียกคน สัตว์ และสิ่งของ ทั้งประเภทของสิ่งนั้นๆ ไม่ได้เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งมากนัก เมื่อเขียนคำนามทั่วไปจะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก
ตัวอย่างคำ
pensel(ดินสอ) perkataan(คำ) ucapan(คำกล่าว)
pemadam(ยางลบ) tulisan(งานเขียน) jam(นาฬิกา)
buku(หนังสือ) komputer(คอมพิวเตอร์) pengetahuan(ความรู้)

ตัวอย่างประโยค (Contoh Ayat)
1. Ali membaca buku. (อาลีอ่านหนังสือ)
2. Bapa saya akan ke luar negeri. (พ่อของฉันจะไปต่างประเทศ)
3. Kucing sedang mengejar tikus. (แมวกำลังไล่หนู)

2. คำนามเฉพาะ (Kata Nama Khas) หมายถึงนามที่จำกัดแคบลงไปว่าเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ คำนามประเภทนี้เขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ (huruf besar) เสมอ
ตัวอย่างคำ (Contoh Perkataan)
Abdullah (ชื่อคน) Si Comel (ชื่อแมว) Proton Wira (ชื่อรถ)
Ahad (ชื่อวันอาทิตย์) Mac (ชื่อเดือนมีนาคม) Universiti Thaksin (ชื่อสถาบัน)
ตัวอย่างประโยค (Contoh Ayat)
1. Kota Bharu ialah ibu negeri Kelantan. (โกตาบารูเป็นเมืองหลวงของรัฐกลันตัน)
2. Encik Sufian sudah tiba dari Bangkok. (คุณซูเฟียนเพิ่งกลับมาจากกรุงเทพ)
3. Mereka belajar di Universiti Thaksin. (พวกเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยทักษิณ)

3. คำสรรพนาม (Kata Ganti Nama) หมายถึง คำที่ใช้แทน คำนาม เพื่อเลี่ยงการซ้ำคำนาม
ตัวอย่าง (Contoh)
1. a. Encik Ahmad hendak ke mana? (ชื่อจริง)
b. Awak hendak ke mana? (คำสรรพนาม)
2. a. Cikgu Kamarudin ada di bilik guru. (ชื่อจริง)
b. Beliau ada di bilik guru. (คำสรรพนาม)

ชนิดของคำสรรพนามในภาษามลายู สามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิด
สรรพนามรูปประธาน (Kata Ganti Nama Diri) หมายถึง คำที่ใช้แทนนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด
สรรพนามบุรุษที่ 1 (Kata Ganti Nama Diri Orang Pertama) ได้แก่ สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด
สรรพนามบุรุษที่ 2 (Kata Ganti Nama Diri Orang Kedua) ได้แก่ สรรพนามที่ใช้แทนผู้ฟัง
สรรพนามบุรุษที่ 3 (Kata Ganti Nama Diri Orang Ketiga) ได้แก่ สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่อ้างถึง
คำสรรพนามบุรุษที่ 1
เอกพจน์
saya (ฉัน), aku (กู, ข้า), hamba (ข้า, บ่าว), patik (ข้าพระพุทธเจ้า), beta (ข้าพเจ้า)
พหูพจน์
kita (เรา), kami (เรา)
คำสรรพนามบุรุษที่ 2
เอกพจน์
engkau (เธอ), awak (แก), kamu (เธอ), anda (คุณ), saudara (คุณ), saudari (คุณ), cik (คุณ(หญิง)), encik (คุณ(ชาย)), tuan (ท่าน(ชาย)), puan (ท่าน(หญิง)), Tuanku (เจ้าข้า)
พหูพจน์
puan-puan (ท่านทั้งหลาย (หญิง)), tuan-tuan (ท่านทั้งหลาย (ชาย)), saudara-saudari (คุณทั้งหลาย(ชาย,หญิง))
คำสรรพนามบุรุษที่ 3
เอกพจน์
dia (เขา, หล่อน), ia (มัน), beliau (ท่าน), baginda (พระองค์ท่าน)
พหูพจน์
mereka (เขาทั้งหลาย)

ตัวอย่างประโยค (Contoh Ayat)
1. Saya sedang belajar. (ฉันกำลังเรียน)
2. Kamu membaca buku. (เธออ่านหนังสือ)
3. Dia ayah kawan saya. (เขาเป็นพ่อเพื่อนฉัน)

ปฤจฉาสรรพนาม (Kata Ganti Nama Diri Tanya) หมายถึง สรรพนามแสดงคำถาม ได้แก่ apa, siapa, bila, bagaimana, mana, berapa, kenapa, mengapa, dari mana, ke mana
ตัวอย่างประโยค (Contoh Ayat)
1. Siapa yang datang tadi? (ใครที่มาเมื่อกี้)
2. Bagaimana saya hendak ke sana? (ฉันจะไปที่นั้นได้อย่างไร)
3. Mengapa datang lambat? (ทำไมถึงมาสาย)

นิยมสรรพนาม (Kata Ganti Nama Tunjuk) หมายถึง สรรพนามที่ชี้เฉพาะ ได้แก่ ini และ itu
Ini ใช้แทนนามซึ่งได้แก่สิ่งของหรือบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูด เช่น
Ini kawan saya. (นี่เพื่อนฉัน)
Itu ใช้แทนนามซึ่งได้แก่สิ่งของหรือบุคคลที่อยู่ไกลตัวผู้พูด เช่น
Itu kerusi. (นั้นเก้าอี้)

4 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากคะ..ดิฉันเป็นผู้เริ่มเรียนภาษามาเลย์จึงยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ขอบคุณมากๆคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มีความสุขกับการเรียนภาษามลายูนะครับ

      ลบ